ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง
พระมหากษัตริย์แห่งชนอังกฤษ
ครองราชย์15 ตุลาคม - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1066
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชสมภพราว ค.ศ. 1051
สวรรคตราว ค.ศ. 1126 (75 ปี)
ราชวงศ์เวสเซ็กซ์
พระราชบิดาเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัย
พระราชมารดาอากาธา

พระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง (อังกฤษ: Edgar the Ætheling หรือ Edgar (the) Ætheling[1]) (ราว ค.ศ. 1051ค.ศ. 1126) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ

พระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1051 ในประเทศฮังการีปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัย ผู้เป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ และ อากาธา พระเจ้าเอ็ดการ์ เป็นพระนัดดาของพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือ “Ironside” ทรงราชย์ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1066 จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1066 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า “เอ็ดการ์ผู้นอกกฎหมาย” (Edgar the Outlaw) หรือ “เอ็ดการ์ที่ 2” ทรงเป็นกษัตริย์เวสต์แซ็กซอนองค์สุดท้ายของราชวงศ์เซอร์ดิค ทรงได้รับการประกาศให้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษแต่มิได้ทรงรับการสวมมงกุฏ

เมื่อเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัยสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1057 เอ็ดการ์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัชทายาทโดยนิตินัยโดยพระอัยกา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี แต่เอ็ดการ์ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะครองราชสมบัติและสามารถป้องกันประเทศที่มึเค้าการรุกรานของฝรั่งเศสโดย ดยุกแห่งนอร์ม็องดี ดังนั้นเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตสภาวิททันจึงเลือก ฮาโรลด์ กอดวินสัน ผู้เป็นน้องเขยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน เมื่อพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเสด็จสวรรคตที่ยุทธการเฮสติงส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 เอ็ดการ์จึงได้รับการประกาศให้เป็น สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 โดยสภาวิททันในลอนดอน แต่มิได้ทรงรับการสวมมงกุฏ พระเจ้าเอ็ดการ์ถูกส่งตัวให้ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ราวหกถึงแปดอาทิตย์ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 14 หรือ 15 พรรษา

เบื้องต้น

[แก้]

พระเจ้าเอ็ดการ์เป็นพระโอรสองค์เดียวของเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัย รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษและเป็นพระนัดดาของพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า “Edmund Ironside” เมื่อเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัยสิ้นพระชนม์ ได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทโดยนิตินัยโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เอ็ดการ์ได้รับการเลี้ยงดูในราชสำนักของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดพร้อมกับพระขนิษฐามาร์กาเร็ตผู้ที่ต่อมาเป็นนักบุญมาร์กาเร็ตแห่งสกอตแลนด์ และ คริสตินา

ประกาศแต่งตั้งเป็นกษัตริย์

[แก้]

เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตในเดีอนมกราคม ค.ศ. 1066 เอ็ดการ์ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะป้องกันอังกฤษจากการรุกรานที่จะเกิดขึ้น สภาวิททันจึงเลือกฮาโรลด์ กอดวินสันขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนที่ หลังจากพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันทรงถูกสังหารในยุทธการเฮสติงส์ เอ็ดการ์จึงได้รับการประกาศให้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็ไม่ทรงสามารถรักษาราชบัลลังก์ไว้ได้ ทรงพึ่งสติกแกนด์ อัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรี และ เอ็ดวิน เอิร์ลแห่งเมอร์เซีย และ มอร์คาร์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรีย แต่ภายในไม่กี่อาทิตย์หลังจากที่ทรงได้รับเลือกจากสภาวิททันอก็ทรงถูกนำตัวไปมอบให้กับพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ที่เบิร์คแฮมเสตดไม่ในปลายเดือนพฤศจิกายนก็ราวต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1066

หลังจากชัยชนะของนอร์มัน

[แก้]
โรเบิร์ต เคอร์โทสในสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่ง

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ทรงปฏิบัติต่อพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นอย่างดี ทรงเห็นว่าพระเจ้าเอ็ดการ์มีประโยชน์ทางการเมืองจึงทรงให้อยู่ภายในการควบคุม ในที่สุดก็ทรงนำพระเจ้าเอ็ดการ์ไปราชสำนักนอร์ม็องดี แต่พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงร่วมมือกับเอ็ดวิน เอิร์ลแห่งเมอร์เซียและมอร์คาร์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียในความพยายามในการกู้ราชบัลลังก์คืนจากพระเจ้าวิลเลียมในปี ค.ศ. 1068 หลังจากทรงพ่ายแพ้ก็ทรงหนีไปยังราชสำนักของพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 แห่งสกอตแลนด์ ปึต่อมาพระเจ้ามัลคอล์มทรงเสกสมรสกับมาร์กาเร็ตพระขนิษฐาของพระเจ้าเอ็ดการ์และทรงหนุนหลังเอ็ดการ์ในความพยายามในการกู้ราชบัลลังก์ นอกจากพระเจ้ามัลคอล์มแล้วพระเจ้าเอ็ดการ์ก็ยังทรงได้รับการสนับสนุนจาก พระเจ้าสเวน เอสทริดสัน แห่งเดนมาร์ก พระนัดดาของพระเจ้าคนุตมหาราช ผู้ที่เชื่อว่าพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษที่ถูกต้องของอังกฤษ

การกู้ราชบัลลังก์ครั้งที่สองเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1069 ทรงยึดยอร์คได้ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ทรงยกทัพขึ้นไปทางเหนือทำลายเมืองหมู่บ้านระหว่างทางไปด้วย ทรงจ้างให้ชาวเดนส์ละทิ้งพระเจ้าเอ็ดการ์ขณะที่พระเจ้าเอ็ดการ์หนีไปสกอตแลนด์และทรงลี้ภัยอยู่ที่นั่นจนปี ค.ศ. 1072 เมื่อพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ทรงกดดันให้พระเจ้ามัลคอล์มทำสัญญาสงบศึกซึ่งในสัญญาระบุให้ส่งตัวพระเจ้าเอ็ดการ์คืน ในที่สุดพระเจ้าเอ็ดการ์ก็เป็นมิตรกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ในปี ค.ศ. 1074 แต่ก็มิได้ทรงเลิกคิดที่จะกู้ราชบัลลังก์คืน หลังจากที่พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1087 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็หันไปหนุนหลังโรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุคแห่งนอร์ม็องดีพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ในการอ้างสิทธิในการครองราชย์อังกฤษแทนที่จะเป็นวิลเลียม รูฟัสพระราชโอรสองค์ที่สองในปี ค.ศ. 1091 แต่ก็ทรงพ่ายแพ้จนต้องหนีไปสกอตแลนด์อีกครั้ง หลังจากนั้นก็ทรงสนับสนุนพระนัดดาเอ็ดการ์แห่งสกอตแลนด์ในการโค่นราชบัลลังก์ของพระปิตุลาพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1097 โดยทรงนำกองหนุนไปเสริมกำลังในการล้อมเมืองอันติโอก เมื่อเสด็จกลับยุโรปทรงถูกจับเป็นนักโทษที่ยุทธการทินเชอไบร ในปี ค.ศ. 1106เมื่อทรงช่วยโรเบิร์ต เคอร์โทสในการต่อสู้กับพระราชโอรสองค์เล็กในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ผู้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงถูกนำตัวกลับไปอังกฤษซึ่งพระเจ้าเฮนรีพระราชทายอภัยโทษให้ หลังจากนั้นก็ทรงปลดเกษียณไปประทับอยู่ที่ฮาร์ทฟอร์ดเชอร์

พระนัดดาของพระเจ้าเอ็ดการ์มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์ เสกสมรสกับระเจ้าเฮนรีในปี ค.ศ. 1100 เชื่อกันว่าพระเจ้าเอ็ดการ์เสด็จไป ราชอาณาจักรสกอตแลนด์เมื่อพระชนมายุมากแล้วอาจจะราปี ค.ศ. 1120 และทรงยังมีพระชนชีพอยู่เมื่อปี ค.ศ. 1125 แต่อาจจะเสด็จสวรรคตไม่นานหลังจากนั้นเมื่อพระชนมายุเกือบ 70 พรรษา พระเจ้าเอ็ดการ์อาจจะเป็นพระบิดาของเจอราลด์ ลองสไตรด์กับลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิอเล็กเซียสที่ 1 แห่งไบแซนไทน์

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Anglo-Saxon term Aetheling or, as it was spelled during the Anglo-Saxon period, Æþeling, denotes a man of noble blood and was used more specifically in the later Anglo-Saxon period to refer to male members of the royal family

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์เวสเซ็กซ์)

(ค.ศ. 1066)
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1